ข้ามไปเนื้อหา

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
สมพงษ์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 56 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าสิปปนนท์ เกตุทัต
ถัดไปสิปปนนท์ เกตุทัต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(0 ปี 212 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าไพฑูรย์ แก้วทอง
ถัดไปพิศาล มูลศาสตรสาทร
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
(0 ปี 277 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปวุฒิ สุโกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 215 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ถัดไปสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสาโรจน์ ชวนะวิรัช
ถัดไปกษิต ภิรมย์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 26 กันยายน พ.ศ. 2563
(1 ปี 40 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถัดไปตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
(0 ปี 327 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปชลน่าน ศรีแก้ว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(34 ปี 239 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 174 วัน)
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
(2 ปี 108 วัน)
ก่อนหน้าวิโรจน์ เปาอินทร์
ถัดไปชลน่าน ศรีแก้ว
เลขาธิการพรรคเอกภาพ
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน พ.ศ. 2532 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
(0 ปี 49 วัน)
ก่อนหน้าปิยะณัฐ วัชราภรณ์
(พรรครวมไทย)
ถัดไปเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติประชาธิปไตย (2525–2531)
เอกภาพ (2531–2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อธรรม (2561)
เพื่อไทย (2556–2561, 2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเพ็ชรี อมรวิวัฒน์

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) ที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5[1]อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี เขต1 และอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม[2] และอดีตแกนนำกลุ่ม 16[3]

ประวัติ

[แก้]

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็นน้องชายของพลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจและพี่ของพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สมพงษ์สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ ที่ Curry College, Milton, Massachusetts, U.S. และจบปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการปกครอง จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยอัมฤทธิ์บริวเวอรี่ นำเข้าเบียร์คลอสเตอร์[4] เมื่อปี 2518 และได้รับทาบทามจาก อบ วสุรัตน์ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ในรัฐบาล เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ มาเป็นรองเลขาธิการและเหรัญญิกพรรคชาติประชาธิปไตยในปี 2524[5] สมพงศ์ ลงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ที่ชลบุรี ภายใต้การอนุเคราะห์ของ สมชาย คุณปลื้ม [6] ก่อนจะย้ายไปลงที่เชียงใหม่ ในสังกัดพรรครวมไทย (พ.ศ. 2529) ของ ณรงค์ วงศ์วรรณ และย้ายไปพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) ตามลำดับ ภายหลังสมพงษ์ นำสมาชิกชาติพัฒนา และพรรคชาติไทย จำนวน 21 คน มาตั้งกลุ่ม 16[7] อภิปรายโจมตีประเด็น รัฐมนตรีเกษตร แจกที่ดิน สปก-401 ให้แก่พวกพ้อง นำไปสู่การยุบสภาของ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้น[8]

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี จึงทำให้ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนคนอื่นอีก 36 คน[9]

อีกด้านหนึ่งสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ วราเทพ รัตนากร สรอรรถ กลิ่นประทุม ประจวบ ไชยสาส์น นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย เขาได้ขึ้นเวทีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ความเป็นธรรมในสังคมไม่มีเลย ซึ่งหลายคนบอกว่าประเทศนี้เมืองนี้มี 2 มาตรฐาน แต่ตนอยากบอกว่า มันไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐาน แต่มันไม่มีมาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น[10]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 12[11] แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 นายสมพงษ์ ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อธรรม และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน เขาจึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคดังกล่าว เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยเขาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม พรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้ง

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ผลปรากฏว่า ชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ด้วยคะแนนเสียง 258 เสียง เอาชนะ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ได้รับคะแนนเสียง 235 เสียง มีผู้งดออกเสียง 1 เสียง[12] และในการแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พรรคฝ่ายค้านซึ่งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือพรรคเพื่อไทย สมพงษ์ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากเขาลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 2[13]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เลือกตั้ง 2562 : เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ เผชิญอดีตส.ส. แหกค่าย-ย้ายพรรคนับร้อย
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  3. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  4. admin, BrandInside (2019-08-31). "เบียร์คลอสเตอร์ อดีตเบียร์ของ "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. ""กำนันเป๊าะ-สมพงษ์" การเมืองในฟองเบียร์". komchadluek. 2019-06-18.
  6. "เบียร์การเมือง กลุ่ม 16 และเพื่อธรรม". komchadluek. 2018-10-02.
  7. "จับตา "กลุ่ม16" หากวันนั้นมาถึง! เมื่อการเมืองถึงทางตันจริงๆ". เนชั่นทีวี. 2019-04-13.
  8. "20 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง: "แผลเป็น" ของนักการเมือง "กลุ่ม 16"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-08-21.
  9. รายชื่อกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาฯ[ลิงก์เสีย]
  10. รายงาน: เมื่อแกนนำ นปช.ขึ้นเหนือ แฉแผนกลโกงเลือกตั้ง-ยึดอำนาจ
  11. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  12. ชวน หลีกภัย เฉือน สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นั่งประธานสภาฯ สมัย 2 ในวัยย่าง 81
  13. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  17. ประวัติ ครม. 'สมัคร 1' ทั้ง 36 คน[ลิงก์เสีย]
  18. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ถัดไป
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 26 กันยายน พ.ศ. 2563)
(6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
ชลน่าน ศรีแก้ว
วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564)
ชลน่าน ศรีแก้ว